ฟังวิทยุออนไลน์

ผลักดันบทบาทไทยในเวทีโลก – การทูตที่ยืดหยุ่น ไทยยืนหยัด ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก

ผลักดันบทบาทไทยในเวทีโลก – การทูตที่ยืดหยุ่น ไทยยืนหยัด ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก

ในทศวรรษที่ผ่านมาสถานการณ์การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่ทวีความเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ วิกฤติรัสเซีย-ยูเครน สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน และความพยายามแพร่อิทธิพลของมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยสถานการณ์ที่ตึงเครียดนี้ก็ยังมีภัยธรรมชาติและโรคระบาด เข้ามาช่วยสร้างปัจจัยเสี่ยงและความท้าทายอย่างมากต่องานด้านการต่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ระเบียบโลกก็กำลังเปลี่ยนไป เช่น เศรษฐกิจแบบพหุภาคีนิยมกำลังเปลี่ยนไปสู่ภูมิภาคนิยม นั้นหมายถึงการรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจในแถบภูมิภาคเดียวกัน อย่าง APEC ก็มีความสำคัญมากขึ้น

ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวบนเวทีเสวนาเรื่อง “อวสานโลกาภิวัตน์” เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 65 ถึงเรื่องพลวัตที่เปลี่ยนไป คือ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือ การค้าเสรี การลงทุน ซึ่งจะเปลี่ยนจากพหุภาคีนิยมมาเป็นภูมิภาคนิยม ซึ่งเห็นได้ชัดจากเวทีพหุนิยมที่มีสหประชาชาติเป็นศูนย์กลางอ่อนแอลง ตัวอย่างเช่น การโหวตมติในเวทีคณะมนตรีความมั่นคงหรือเวทีสมัชชาใหญ่ไม่มีความเป็นเอกภาพ เมื่อมีมหาอำนาจคัดค้านก็ไม่สามารถทำอะไรต่อได้ ดังนั้นการเมืองและเศรษฐกิจโลกที่คนเคยรู้จักได้เปลี่ยนไป

ซึ่งในภาวะที่มีความผันผวนและซับซ้อนขึ้น การดำเนินงานด้านการต่างประเทศของไทยภายใต้การทำงานของรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในเรื่องของทิศทางนโยบายที่ดูจะมีลักษณะสนับสนุนรัฐบาลของจีนและรัฐบาลของรัสเซียมากขึ้น และมีการถอยห่างจากชาติตะวันตกเมื่อเทียบกับสมัยก่อน แต่แท้จริงแล้วการแสดงออกของประเทศไทยเป็นส่วนนึงของทิศทางการทูตที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นที่เข้ากับสถานการณ์โลก ดังที่ นายเตช บุนนาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา เคยกล่าวไว้ว่า การทูตของไทยจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นในการติดต่อไปมาหาสู่กับโลกเพื่อความอยู่รอด เพราะไทยไม่สามารถยืดถือความเห็นที่แข็งทื่อต่อปัญหาของโลก โดยเนื้อแท้ของการทูตไทยคือ ต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถไปได้หลายทิศทาง หรือที่ว่าเป็น “การทูตไม้ไผ่” แต่ไม่ได้เป็นเพียงไผ่ที่โอนไปตามสายลม หากแต่มองเห็นว่าลมจะพัดไปทางไหน และโอนไปในทิศทางที่ก่อนลมจะไปถึง ดูว่าลมไปทางไหนเพื่อรักษาความปลอดภัยและรักษาตัวให้อยู่รอดในโลกที่อันตรายและยากลำบาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการทูตเชิงรุก (pro-active) และไม่ใช่การตอบสนองด้วยการตั้งรับ (reactive) เฉยๆ

สิ่งที่ประเทศไทยดำเนินการมาคือการไม่เลือกข้างในภาพใหญ่ แต่เลือกข้างในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ของไทย อาทิ กรณีของการเข้ามาลงทุนสร้างรถไฟของจีนในประเทศไทย ที่จริงแล้วต่างออกไปจากความเข้าใจที่แพร่หลายในสังคม ความร่วมมือสร้างรถไฟไทย-จีนภายใต้โครงการ Belt Road Initiative ประชาชนส่วนมากมักจะเข้าใจกันว่าเป็นไอเดียของจีนโดยจีนสนับสนุนและสั่งให้สร้าง แท้ที่จริงแล้ว หากไทยเอนหาจีนโดยยอมให้จีนเป็นผู้ควบคุมการสร้าง โครงการน่าจะสำเร็จเร็วกว่าปัจจุบัน แต่งานก่อสร้างอยู่ในกรอบกฎหมายไทยที่บริษัทก่อสร้างไทยได้ประโยชน์ จึงสะท้อนว่าไทยมีอำนาจสามารถควบคุมการตัดสินใจให้สอดคล้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ

นอกจากนี้ในกรณีของ สงครามระหว่างรัสเชียและยูเครน การลงมติกรณีขับรัสเซียนั้นไทยงดออกเสียง ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ประชาชนไม่พอใจที่ไทยอาจจะเอียงไปทางรัสเซีย "จนน่าเกลียด" จนประเทศไทยถูกมองว่า ละทิ้งหลักการที่ว่า ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังและการรุกรานทางทหารซึ่งขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ แต่ในความจริงแล้ว ข้อมติที่ไทยงดออกเสียงนั้น เน้นแต่การประณาม ไม่ได้ให้อีกมุมหนึ่งที่สำคัญคือการพยายามหาทางออกในการสู้รบ หาทางเจรจาอย่างจริงจัง ไทยอยากให้โลกรับรู้ว่านี่เป็นจุดที่สำคัญ การยุติปัญหาต้องมีการดำเนินการเชิงรุกเพื่อหาทางออกทางการทูต ไม่เช่นนั้นคู่กรณีก็จะมีแต่รบกันต่อไป และจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ที่สุดแล้วหากมีการใช้อาวุธร้ายแรงหรืออาวุธนิวเคลียร์ก็จะกระทบประเทศไทยและประชาชนไทย และกระทบกันไปทั่วโลก ท่าทีทางการทูตของไทยจึงไม่แข็งทื่อแต่มีความยืดหยุ่น

ดังที่ นายณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในงานสัมนา “อนาคตการทูตไทยและประเด็นข้อท้าทายของโลก”วันที่ 18 พ.ย. 2564 ว่า การทูตมีความละเอียดอ่อนและหลักปฏิบัติ ในทางการทูตแล้ว ไทยไม่จำเป็นต้องเลือกหรือแสดงจุดยืนที่เข้มแข็งเสมอไปก็ได้ บางทีไทยอาจจะไม่ต้องเลือกที่จะเป็นผู้นำ แต่เลือกที่จะเป็นสะพานเชื่อมมากกว่า บางประเทศอาจจะมีจุดยืนชัดเจน แสดงบทบาทนำได้ แต่บางประเทศก็ทำอย่างนั้นไม่ได้ ประเทศไทยเลือกที่จะไม่คว่ำบาตรรัสเซียและยังมีการติดต่อและร่วมมือกันอยู่ในด้านที่ไม่ละเอียดอ่อน เช่น วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ดำเนินนโยบายเช่นนี้ แม้แต่อินเดียซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มควอดก็ยังเพิ่มปริมาณการซื้อน้ำมันจากรัสเซีย ดังนั้น ทุกประเทศก็ต้องเลือกสิ่งที่ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของตัวเองให้ดีที่สุด

นอกจากในด้านการวางตัวกับประเทศมหาอำนาจ ขณะเดียวกันประเทศไทยได้ก็ผูกสัมพันธ์กับพันธมิตรอื่นๆ เช่น ซาอุดีอาระเบีย อินเดีย เพื่อลดการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ และเพื่อกระจายความเสี่ยง เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยและสหภาพยุโรปได้ลงนามร่างกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านไทย-สหภาพยุโรป (Thailand-EU Comprehensive Partnership and Cooperation Agreement : PCA) ซึ่งสหภาพยุโรปก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสนองผลประโยชน์ของไทยได้ในอนาคต โดยคาดหวังว่าการลงนาม PCA จะนำไปสู่การรื้อฟื้นการเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป นอกจากนี้ ประเทศไทยยังคงมีบทบาทที่เข้มแข็งในกรอบความร่วมมือต่างๆ ทั้ง ASEAN APEC และสหประชาชาติต่อไป และเมื่อการเกิดเหตุการณ์สาธารณภัยในต่างประเทศ เช่น กรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกี ประเทศไทยส่งทีมปฏิบัติการ Thailand for Turkey เพื่อเข้าช่วยเหลือ

โดย 8 ปี ที่ผ่านมา ในแง่ความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีการต้อนรับผู้นำต่างประเทศอย่างเป็นทางการ 29 ครั้ง ซึ่งในงานประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่ผ่านมา ก็มีผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคจำนวนมากเข้าร่วม และมีการเยือนเพิ่มเติมโดยที่มีความสำคัญอีก 3 ประเทศคือผู้นำซาอุดีอาระเบีย จีน และฝรั่งเศส ซึ่งไม่เคยมีการเยือนระดับสูงเช่นนี้ในเวลาเดียวกัน ภายใต้การนำของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการหารือผู้นำประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน 411 ครั้ง เป็นประธานการประชุมระหว่างประเทศ 6 ครั้ง คือ ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง (GMS) ปี 2557 ความร่วมมือเอเชีย (ACD) ปี 2559 ความร่วมมืออิรวดี-เจ้าพระยา-โขง (ACMECS) ปี 2561 ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN) ปี 2562 ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC) ปี 2565 ประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) 2565-2566

 ตัวอย่างผลสำเร็จของการรักษาสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยและนานาประเทศ เห็นได้ชัดจาก น้ำใจจากมิตรประเทศในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่ประเทศไทยได้รับไมตรีนี้เพราะมีการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีเรื่อยมา

●   จีน: มอบวัคซีน 50.85 ล้านโดส และเวชภัณฑ์เพื่อสนับสนุนมาตรการการป้องกันและรับมือกับโควิด-19 แก่ประเทศไทย มูลค่ากว่า 10 ล้านหยวน และยังบริจาค “ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่หัว-เหยี่ยน” ให้กับทางรัฐบาลไทย โดยห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรค และเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ทั้งด้านเทคนิค และการบริการภายในอย่างครบครัน

●   ญี่ปุ่น: ส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า  2,043,100 โดส อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือไทยในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในระบบลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain System) ซึ่งจำเป็นต่อการขนส่งและเก็บรักษาวัคซีน รวมถึงให้ความร่วมมือในการยกระดับความสามารถการตรวจหา และเฝ้าระวังเชื้อไวรัส การจัดหาอุปกรณ์และอาคารสถานที่ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนายารักษาโรค

●   อังกฤษ: มอบแอสตร้าเซเนก้า 415,000 โดส อีกทั้งบริษัทแอสตร้าเซเนก้าของอังกฤษ ยังไว้วางใจให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของประเทศไทย เป็นฐานการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

●   สวิตเซอร์แลนด์: มอบชุดอุปกรณ์ตรวจ Rapid Antigent จำนวน 1,100,000 ล้านชุด และเครื่องช่วยหายใจ 102 เครื่อง

●   สหรัฐอเมริกา: มอบวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส, วัคซีนโมเดอร์นา 1 ล้านโดส และตู้เย็นเก็บวัคซีนจำนวน 200 เครื่อง

●   เยอรมนี: มอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 347,000 โดส, ยารักษาโควิด-19 2,000 ชุด, ตู้แช่เเข็ง 4 ตู้ และเข็มฉีดยาเเละกระบอกฉีดยา 51,000 ชุด

●   เกาหลีใต้: มอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 470,000 โดส

●   อินเดีย: มอบวัคซีน Covovax  2 แสนโดส

●   สิงคโปร์: มอบชุดตรวจ Antigen Rapid Test 200,000 ชุด และชุดตรวจแบบ Nasopharyngeal Swab 500,000 ชุด อีกทั้งยังมีโครงการแลกเปลี่ยนวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า จำนวน 122,400 โดส ซึ่งไทยส่งมอบคือให้แล้วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

●   ภูฏาน: มีโครงการแลกเปลี่ยนวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า จำนวน 1.5 แสนโดส ซึ่งไทยสัญญาว่าจะส่งมอบวัคซีนคืนให้ในภายหลัง

 

ในช่วงของวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ วิกฤติการณ์ทางการเมือง และความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนิน “การทูตเชิงรุก” ในทุกช่องทาง เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้คนไทยและขีดความสามารถของไทยในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ รวมถึงความมั่นคงด้านสาธารณสุข และเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

 ด้าน Security /มีความมั่นคง

●   ใช้การทูตเชิงรุกเพื่อจัดหาวัคซีนต้านโควิด-๑๙ รวมถึงการวิจัยและพัฒนา และช่วยเหลือมิตรประเทศเพิ่มศักยภาพด้านสาธารณสุขและการรับมือกับโควิด-๑๙ โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย

●   ผลักดันให้ไทยเป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่

●   รักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาคและของโลก โดยได้จัดการหารือและการประชุมกับผู้นำและผู้บริหารระดับสูงของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศมหาอำนาจอย่างต่อเนื่องทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เช่น การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค การหารือระหว่างผู้นำคู่ขนานกับการประชุม การเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบีย

●   ผลักดันให้อาเซียนมี“ฉันทามติ๕ ข้อ” เพื่อแก้ไขสถานการณ์ในเมียนมา

●   เสริมสร้างความพร้อมของไทยในการรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น กระทรวงการต่างประเทศได้ผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและกัมพูชาทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ถูกชักชวนไปทำงานหลอกลวงทาโทรศัพท์

●   เสริมสร้างให้ต่างประเทศมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

 

ด้าน Sustainability/มีความมั่งคั่ง ยั่งยืน

●   ร่วมผลักดันให้ไทยร่นเวลาการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ อาทิ ข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26)

●   พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในอนุภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมือ ACMECS

●   ผลักดันผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของไทยผ่านการเป็นเจ้าภาพ APEC ในปี ๒๕๖๕

●   ส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับมิตรประเทศ

●   ผลักดันเศรษฐกิจBCG ผ่านกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ

●   เพิ่มโอกาสให้ภาคธุรกิจของไทยผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ เทศกาลไทยในต่างประเทศศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทย โครงการ “ศูนย์ข้อมูลธุรกิจเพื่อธุรกิจไทย”(Business Information Centre: BIC) และศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ (globthailand)

●   ร่วมผลักดันให้ RCEP มีผลใช้บังคับ

 

ด้าน Standard/มีมาตรฐานสากล

●   เสนอเศรษฐกิจ BCG และเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นมาตรฐานโลก

●   ช่วยเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจไทยในด้านสิทธิมนุษยชน

●   จัดกิจกรรมระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

●   ร่วมเสนอพัฒนาการการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ต่อมิตรประเทศรวมถึงสหรัฐฯ

●   ร่วมมือกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operationand Development: OECD) เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

ด้าน Status/มีสถานะและเกียรติภูมิ

●   ร่วมผลักดันคนไทยให้ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก

●   ผลักดันให้ประเทศไทยและคนไทยได้รับเลือกตั้งในเวทีระหว่างประเทศ อาทิ ดร. วิลาวรรณ มังคละธนะกุล ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission: ILC)

●   ผลักดันสถานที่และวัฒนธรรมที่สำคัญของไทยได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกหรือพื้นที่สำคัญระดับโลก เช่น กลุ่มป่าแก่งกระจานโนรา เพชรบุรีและดอยเชียงดาว ขึ้นทะเบียน “โนรา” เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

●   จัดเทศกาลไทยในต่างประเทศ

●   ตั้ง “มุมไทย” ในสถาบันการศึกษาของต่างประเทศ

●   ช่วยเหลือมิตรประเทศที่ประสบภัยพิบัติและด้านมนุษยธรรม เช่น การมอบเงินช่วยเหลือแก่รัฐบาลตุรกี เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในสาธารณรัฐตุรกี การบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่ สปป.ลาว

 

ด้าน Synergy/มีพลัง

●   เปิดให้บริการทำหนังสือเดินทางอายุ ๑๐ ปี

●   เปิดให้บริการเครื่องรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเอง (kiosk)

●   ขยายการให้บริการ e-Visa แบบไร้แผ่น

●   พัฒนาระบบCOE และ ThailandPass เพื่อช่วยฟื้นฟูการเดินทางในช่วงโควิด-๑๙

●   ให้การช่วยเหลือ/คุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ เช่น ช่วยเหลือคนไทยและนักศึกษาไทยในต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยในอิสราเอลจากเหตุการณ์ความรุนแรงในอิสราเอลและปาเลสไตน์

●   ส่งเสริมการรวมกลุ่มและบทบทของชุมชนไทยในต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนไทยในต่างประเทศ อาทิ โครงการเสริมสร้างศักยภาพคนไทย เครือข่ายชุมชนไทย และอาสาสมัครคนไทยในต่างประเทศ โครงการสนับสนุนกิจกรรมนักเรียนและนักศึกษาไทย

●   ดำเนินการทูตเพื่อประชาชนและการทูตสาธารณะในเชิงรุก เพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์นโยบายต่างประเทศและบทบาทด้านการต่างประเทศของไทยสู่สาธารณชน และเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ อาทิ การจัดแถลงข่าวประจำสัปดาห์และการจัดวิทยุสราญรมย์


 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar