ฟังวิทยุออนไลน์

รัฐบาลแก้ฝุ่น PM 2.5 วางมาตรการลงโทษตามกฎหมาย

 

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง สั่งการในที่ประชุม ครม. เรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ย้ำว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ โดยมีการตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่นละออง ให้เป็นไปตามกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ พร้อมทั้งยกให้เชียงใหม่เป็นจังหวัดต้นแบบ เนื่องจากขณะนี้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ลดลง โดยเฉพาะเดือน ม.ค. เมื่อเทียบย้อนหลังไปถึง 10 ปี
ปีนี้คนเชียงใหม่บอกว่าปัญหาฝุ่นดีขึ้น และปริมาณฝุ่นต่ำลงมาก แต่พื้นที่ กทม. และปริมณฑล ยังไม่ลดลง 

       ดังนั้น นายกฯ จึงเน้นย้ำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเน้นการทำงานเชิงรุก ใช้กลไกและกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้ทุกหน่วยงานนำไปปรับใช้
เพื่อกำหนดมาตรการให้มีความเข้มข้นและเป็นรูปธรรม 

5 แนวทางเข้มข้น แก้ปัญหาฝุ่นเชิงรุก 

  1. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รณรงค์ให้เกษตรกรเปลี่ยนวิธีจากการเผาเป็นฝังกลบ หากเกษตรกรรายใดติดปัญหา
    เรื่องเครื่องมือในการฝังกลบ ภาครัฐยินดีส่งเสริม และหากฝืน
    ไม่ปฏิบัติตามจะถูกตัดสิทธิในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐทุกรูปแบบ

  2. ให้กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ กำหนดมาตรการลดหรือห้ามนำเข้าสินค้าทางการเกษตรที่พิสูจน์ได้ว่า มีกระบวนการผลิตเกี่ยวข้องกับการเผา เช่น การนำเข้าข้าวโพด ซึ่งแหล่งนำเข้าข้าวโพดมีการเผาตอซังข้าวโพด

  3. กำหนดให้มีการจับกุม และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด   โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ออกประกาศเขตห้ามเผา ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หากผู้ใดฝ่าฝืน ให้มีการลงโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด

  4. การลงโทษปรับ กรณีการเผาที่เป็นเหตุให้รำคาญ ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข หากมีการลักลอบนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับการเผา           ในประเทศเพื่อนบ้าน ที่เกี่ยวข้องจับกุมและลงโทษตามกฎหมาย โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้มงวดกับการดูแลพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดการเผา หรือลักลอบนำเข้าสินค้าที่เกิดจากการเผาจากประเทศต้นทาง หากปล่อยให้เผาหรือมีการลักลอบนำเข้าผู้ว่าฯ และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีส่วนรับผิดชอบตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

  5. การสนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้ประชาชนรับทราบว่ารัฐบาลจริงจังกับปัญหาดังกล่าว และมอบหมายกระทรวงเกษตรฯ ให้ความรู้เรื่องการไถกลบและผลเสียของการเผากับเกษตรกร 

   ทั้งนี้ ขอให้คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศนำแนวทางดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และทำให้เป็นมาตรการ              ที่ชัดเจน เพื่อสนองตอบต่อ ครม. โดยด่วน

11 มาตรการเร่งด่วนป้องกันฝุ่น PM 2.5 ปี 67  

     เน้นการเตรียมความพร้อมป้องกันการเกิดฝุ่น PM2.5 และไฟป่า
ใน 3 พื้นที่แหล่งกำเนิดหลัก ได้แก่ พื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่เมือง รวมถึงหมอกควันข้ามแดน

  • ควบคุมพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาใน 11 ป่าอนุรักษ์ 10 ป่าสงวนแห่งชาติ โดยจัดทำแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า
    จัดระเบียบควบคุมผู้เข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อลดการเกิดไฟ
    ในพื้นที่ป่าให้ได้ 50% จากปี 2566 

  • กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตการเผาและการบริหารจัดการ            การเผาในพื้นที่เกษตร โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน            ในพื้นที่

  • นำระบบการรับรองผลผลิตทางการเกษตรแบบไม่เผา (GAP PM2.5 Free) มาใช้กับการปลูกอ้อย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 

  • การจัดหาและสนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เหมาะสม

  • จัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกร และมาตรการไม่รับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ การบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยนำมาแปรรูปเพื่อสร้างรายได้ และจัดตั้งศูนย์รับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 

  • เพิ่มเงื่อนไขเรื่องการเผาในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรในการนำเข้า - ส่งออกสินค้า เพื่อแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดน

  • พิจารณาสิทธิประโยชน์หรือแรงจูงใจให้ภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุน การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 

  • ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 การลดปริมาณฝุ่นละอองจากรถบรรทุก รถยนต์ รถจักรยานยนต์

  • เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสภาพรถยนต์ประจำปีและการตรวจจับควันดำ การเข้มงวดวินัยจราจร การคืนพื้นผิวจราจรบริเวณการก่อสร้างรถไฟฟ้า การลดจำนวนรถยนต์ในท้องถนนโดยเฉพาะในพื้นที่เมือง สร้างจุดจอดแล้วจร และสนับสนุน             การปรับเปลี่ยนใช้รถยนต์ไฟฟ้า 

  • ลดปริมาณฝุ่นละอองจากการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้างและอื่นใด 

  • กำหนดหลักเกณฑ์ในการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเยือนไทย พร้อมหารือปัญหาฝุ่นข้ามแดน

    ในวันที่ 7 ก.พ. 67 จะมีการหารือระหว่างนายกฯ ไทยกับนายกฯ กัมพูชา โดยเสนอให้หยิบยกหารือขอความร่วมมือควบคุมการเผา เพื่อลดการสร้างฝุ่น PM 2.5 ของทั้ง 2 ประเทศ และไทยพร้อมสนับสนุนกัมพูชาในทุกช่องทางเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อเร่งเดินหน้าคืนอากาศสะอาดให้กับประชาชนในทุกมิติ

แนวทางการสื่อสาร

1. นำเสนอมาตรการเข้มงวด และบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน เช่น สัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนรับทราบและดำเนินตามมาตรการ

2. สร้างการมีส่วนร่วม แก้ไขปัญหา ประชาสัมพันธ์ให้ภาคอุตสาหกรรม           ภาคการเกษตร ผู้ประกอบการ และประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนช่วยกันปฏิบัติ

3. นำเสนอการเจรจาระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในการบริหารจัดการปัญหาฝุ่นข้ามประเทศ เช่น แผนความร่วมมือ การสนับสนุนอุปกรณ์การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เป็นต้น


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar